วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โดนัทจากข้าวหอมมะลิ

โดนัทจากข้าวหอมมะลิ


ขนมอบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำง่าย ได้ทั้งประโยชน์ และความอร่อย โดนัทสูตรนี้ได้นำข้าวหอมมะลิมาเป็นส่วนประกอบ พร้อมทั้งยังได้ประโยชน์จากข้าวกล้องงอก และน้ำมันรำข้าวเต็มๆ 

มีขั้นตอนการทำดั้งนี้

ผสมน้ำมันพืชกับน้ำข้าวกล้องงอกและกากข้าวกล้องกับไข่ไก่ค้นให้เข้ากัน  จากนั้นก็เทแป้งผสมให้เข้ากันจากนั้นนนำส่วนผสมหยอดลงในเครื่องทำโดนัท อบไว้ประะมาณ 2-3 นาที แค่นี้ก็ได้โดนัทน่ากินแล้วค่ะ



เครื่องประดับ จังหวัดสุรินทร์

เครื่องประดับของคนสุรินทร์

รูปแบบเครื่องเงินของคนสุรินทร์มีแนวคิดในการทำเครื่องประดับแบบโบราณ จนมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากนักวิชาการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมาจนถึงทุกวันนี้แนวความคิดในการทำงานการทำงานเป็นช่างประดับเงินของนายป่วน เจียวทอง ในปัจจุบันนี้ก็ได้ยึดเอากรอบแนวคิดและคติพจน์ที่ว่า ทำวันนี้ให้ดีที่สุด” โดยการทำงานสร้างสรรค์ผลิตเครื่องประดับเงินในแต่ละชิ้นนั้นนายป่วน เจียวทอง จะให้ความสำคัญในการผลิตเครื่องประดับเงินในแต่ละชิ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการออกแบบชิ้นงาน การออกแบบลวดลาย จะกระทำด้วยความประณีตเพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุดและเป็นที่น่าประทับใจต่อลูกค้าหรือผู้พบเห็นโดยทั่วไป 

แบบเครื่องเงิน


เครื่องดื่มสมุนไพร

เครื่องดื่มสมุนไพร
ประเภทของสมุนไพร

 มี 2 ประเภท คือ
1. น้ำดื่มธรรมดา ซึ่งใช้ตามประเพณี หรือพิธี ได้แก่
          - น้ำที่นำไปอบด้วย เครื่องหอมได้แก่กระดังงาลนไฟลอยด้วยดอกมะลิหรือกลีบกุหลาบมอญใช้ถวายพระสงฆ์ในงานพิธีตามประเพณี เช่น งานทำบุญเลี้ยงพระ งานประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น หรือเป็นน้ำที่ถวายเจ้านายในวังเพื่อใช้เสวยเป็นประจำ 
2. น้ำผลไม้ และน้ำดื่มซึ่งเกิดจากการปรุงแต่ง
  เครื่องดื่มสมุนไพร หรือพืชผลชนิดที่มีความเผ็ดร้อน เช่น ขิง ข่า กระทือ ตะไคร้ เป็นต้น ต้มในน้ำร้อนและผสมน้ำตาลทรายแดงให้พอมีรสปะแล่มๆ  ซึ่งต่อมานิยมดื่มกันแพร่หลายเพราะเป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยรักษาโรคไ้ด้เป็นอย่างดี
ถือเป็นเอกลักษณ์ในการแสดงถึงชาติ แสดงถึงเผ่าพันธุ์ และความเป็นผู้ที่เจริญแล้ว สิ่งหนึ่งที่แสดงออกมาได้เป็นอย่างดีก็คือ ศิลปะที่ผสมผสานและผูกพันอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยนั่นเอง ศิลปะดังกล่าวนี้รวมไปถึงเรื่องการกินอยู่ด้วยอาทิ เช่น การจัดตั้งสำรับ และการประกอบจัดอาหาร ก็ไม่เพียงเพื่อความอร่อยลิ้นอย่างวิเศษเพียงประการเดียว  ยังมีความสวยงามในการจัดแต่งเป็นองค์ประกอบของอาหารให้งามตายิ่งขึ้นไปอีก  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เครื่องดื่มของไทยนั้นจะแฝงไว้ด้วยเจตนารมณ์ให้ผู้ดื่มได้ซึมซับทั้งรสชาติและคุณประโยชน์ไปพร้อมๆ  กันอย่างชาญฉลาด

ประโยชน์ของสมุนไพร คือ
          1. ใช้เป็นยาบำบัดรักษาโรค
          2. ใช้เป็นอาหาร
          3. ใช้เป็นเครื่องสำอางค์
          4. ใช้เป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกาย
          5. ใช้ขับสารพิษ
          6. ใช้เป็นเครื่องดื่ม
          7. ช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ

กระเป๋าจากผ้าไหม

กระเป๋าผ้าไหม
ความคิดสร้างสรรค์ของการประดิษฐ์กระเป๋าผ้าไหมออกสู่ตลาด เป็นการเพิ่มความแตกต่างให้สินค้าให้เกิดจุดเด่นได้ ก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ ’ช่องทางทำกิน“ กับสินค้าประเภทกระเป๋านั้น ’กระเป๋าผ้าไหม“ นี่ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะไม่คอยเห็นการนำผ้าไหมมาทำเป็นกระเป๋า แต่ก็สวยไปอีกแบบ




วิธีทำ... เริ่มจากการเลือกผ้าไหมให้ได้สีตามที่ต้องการจะทำ (กระเป๋า 1 ใบจะใช้ผ้าไหม 8 สีมาต่อกัน) จากนั้นก็วัดตามหน้าผ้า 6 นิ้ว แล้วก็ตัดผ้าหน้ากว้าง 6 นิ้วตามแนวยาว ทั้ง 8 ชิ้น 8 สี แล้วนำผ้าที่ตัดแล้วไปทำการอัดรีดกับผ้าอัดกาว โดยใช้เตารีด ใช้ความร้อนต่ำในการรีดให้ผ้าไหมติดกับผ้าอัดกาว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับผ้าไหม

หลังจากที่อัดผ้าไหมหน้ากว้าง 6 นิ้วกับผ้าอัดกาวติดกันแล้ว ก็ให้วัดผ้าหน้ากว้าง 6 นิ้วนั้นโดยแบ่งเป็นช่วง ๆ ละ 3 นิ้ว แล้วก็ตัดผ้าออกมาให้เป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 3x3 นิ้ว โดยตัดผ้าทั้ง 8 สีให้ได้ขนาดที่เท่ากันตามนี้ แล้วขั้นตอนต่อไปก็นำแบบที่เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 2x2 นิ้ว มาทาบลงด้านหลังผ้าที่ตัดไว้ ใช้ดินสอขีดร่างไว้

เมื่อทำการวาดแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 2x2 นิ้วเสร็จแล้ว ก็นำแผ่นผ้านั้นมาเย็บต่อกันตามแนวดินสอที่ขีดไว้ เรียงตามสีที่ต้องการ เย็บเป็นแถวยาว โดย 8 แผ่น เท่ากับ 1 แถว เย็บ 6 แถว จากนั้นก็นำมาเย็บต่อเรียงกันขึ้นไป ทำให้ได้ผืนผ้า 2 ชิ้นใหญ่ จากนั้นก็นำมาเย็บประกอบเข้ากันเป็นกระเป๋า ติดซิป ใส่หูกระเป๋า นำผ้าซับในมาตัดเย็บให้ได้ขนาดเท่ากับกระเป๋าที่ทำ แล้วก็ทำการใส่ผ้าซับในเข้าไปในกระเป๋า ทำการเย็บเก็บปิดให้เรียบร้อย เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอน

ครีมจากข้ามหอมมะลิ

ครีมจากข้ามหอมมะลิ




“สินค้าที่ผลิตขึ้นมาจะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม จะใช้สมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลักได้แก่ ขมิ้น ข้าวหอมมะลิ อัญชัน เน้นไม่ผสมสารเคมี โดยขณะนี้ได้ผลิตสินค้าใหม่ออกมาบุกตลาด คือ แชมพูและครีมนวดข้าวหอมมะลิ ซึ่งสกัดจากข้าวหอมมะลิพันธุ์ดี 
วัตถุดิบหลักคือสมุนไพรจากไร่ภูดินทั้งหมด อาทิ ผลิตภัณฑ์ ชามนตรา (ชาดอกไม้) สบู่สมุนไพร ครีมบำรุงผิว ลิปบำรุงริมฝีปาก สครับขัดผิว น้ำมันหอมแห้งสมุนไพร และสินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คือ แชมพูข้าวหอมมะลิ
 สาเหตุที่ทำผลิตภัณฑ์แชมพูและครีมนวดผมข้าวหอมมะลินั้น เพราะเป็นสูตรที่พบเห็นได้ยากตามท้องตลาด  ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรอื่นๆ ได้แก่ ชาดอกไม้ที่ผลิตจากดอกไม้นานาพรรณ เช่น ดอกคำฝอย อัญชัน หญ้าหวาน ใบเตย นำมาอบแห้งแล้วบรรจุภัณฑ์อย่างสวยงาม สบู่สมุนไพรซึ่งมีหลายกลิ่น เช่น กลิ่นขมิ้น อัญชัน มะกรูด ลิปมันบำรุงริมฝีปากจากกลิ่นสมุนไพร และน้ำมันหอมแห้งสมุนไพร

สบู่โปรตีนจากรังไหม

สบู่โปรตีนจากรังไหม

จากไหมที่คนเรารู้จัก เป็นรังไหมเล็กๆที่คนเฒ่าคนแก่เลี้ยงไว้สำหรับทอผ้าไหม สไบ เป็นต้น แต่ทุกวันนี้รังไหมมีประโยชน์กว่าที่คิดสามารถทำเป็นสบู่ โลชั่น ครีมอาบน้ำ หรืออาจจะมีประโยชน์มากกว่านี้ถ้าคนเรานำไปทดลองทำหรือผลิตให้เกิดรายได้

ผลิตภัณฑ์จากรังไหม




เสื่อไล่ยุง

ทำเสื่อจากต้นตะไคร้หอมไล่ยุง

การทอเสื่อด้วยต้นกกที่ว่าดีแล้ว แต่ต้นตะไคร้หอมดีกว่า มึคุณสมบัติสามารถไล่ยุงและแมลง เวลาปูนั่งเล่นหรือนอนยุงทุกชนิดจะไม่เข้ามาใกล้เลย เป็นเสื่อตะไคร้ที่สามารถไล่ยุงได้เป็นอย่างดีเยี่ยม และยังสามารถหารายได้โดยการทอเสื่อจากต้นตะไคร้หอม หรือจะทำเป็นอาชีพเสริมอีกทางหนึ่งก็ยังได้



วีธีการทอเสื่อตะไคร้หอม
 เตรียมต้นตะไคร้ที่มีอายุ 5-6 เดือน โดยเฉลี่ยความสูงของต้น  120-150  จากนั้นนำมาผ่าครึ่งเป้นริ้วเล็กๆแล้วไปตากแดดให้แห้งประมาณ 2-3 วัน เมื่อใช้ได้แล้วในที่นี้จะใช้คนทอเพียงสองคน คนหนึ่งพุ่งกกเข้าฟืมและอีกคนกระทบฟืม ก่อนจะทอต้องนำน้ำมาพรมให้ชุ่มก่อนจึงจะทอได้ ถ้าทอเสร็จแล้วให้ตัดหางที่ยืนออกมาเพื่อให้เสื่อมีความสวยงาม



"ทะเลสาบทุ่งกุลา" จังหวัดสุรินทร์

ครั้งแรก...กับฟ้าสวย น้ำใส....ใน"ทะเลสาบทุ่งกุลา"




มหัศจรรย์ "ทะเลสาบทุ่งกุลาตำบลไพรขลา แม่น้ำสีคราม ”สุดยอดแหล่งท่องเที่ยว แห่งใหม่ของจังหวัดสุรินทร์
ทะเลสาบทุ่งกุลา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเปิดใหม่  อยู่ที่ตำบลไพรขลา  อำเภอชุมพลบุรี  จังหวัดสุรินทร์
เป็นสถานที่ที่น่าไปเที่ยวมาก น้ำใส อาหารอร่อย บรรยากาศดี  เหมาะแก่การไปพักผ่อน   ทะเลสาบทุ่งกุลายังมีเครื่องเล่นต่างๆให้เช่า ราคาเป็นกันเองเนื่องจากบุคคลที่มาเที่ยวส่วนใหญ่เป็นพี่น้องชาวจังหวัดสุรินทร์ เป็นสถานที่ที่ยังไม่คอยมีบุคคลภายนอกรู้จักมากนัก 
จากเดิมทะเลสาบทุ่งกุลาเป็นเพียง”อ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นโครงการแก้มลิงเป็นอ่างกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ทางกรมชลประทานได้มาขุดเพื่อทำการเกษตร ในพื้นที่รอยต่อตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

บรรยายกาศรอบๆทะเลสาบทุ่งกุลา




เย็นๆยามพระอาทิตย์ตก






วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



   "วันนพฤกษศาสตร์และวันข้าวใหม่หอมมะลิ"
     จังหวัดสุรินทร์ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ได้จัดงานวันพฤกษศาสตร์และวันข้าวใหม่หอมมะลิ  ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม จนถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน นี้ ณ บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเฉลิมพระชนม์ 80 พรรษา เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์และเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์สุรินทร์ ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่ประชาชนชาวสุรินทร์

     นอกจากนี้  ยังส่งเสริมให้ประชาชนหันมาสนใจดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดงานวันพฤกษศาสตร์และวันข้าวใหม่หอมมะลิขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ ด้วยการนำไม้ดอก ไม้ประดับนานาชนิด มาจัดแสดงให้ผู้ร่วมงานได้ชม ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการปลูกไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ เป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลัก และเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดของผู้ผลิต ผู้ค้าพันธุ์ไม้ให้กับประชาชนผู้สนใจด้วย โดยได้เปิดให้เข้าเที่ยวชมงานได้ฟรี






    ซึ่งภายในงานนั้นก็จะมีสินค้า (OTOP) มากมายให้เราได้เลือกชมภายในงานที่มาจากแหล่งต่างๆของคนในจังหวัดสุรินทร์ที่ได้นำเอาสินค้ามาให้เราเลือกซื้อเลือกชมได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหม การทำกระเป๋าจากผ้าไหม โดยขายผืนละ 800-1000 บาท

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

  

 ประเพณีแซนโฎนตา 


คืออีกประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญและปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานนับพันปีของ   ชาวเขมรพื้นเมืองสุรินทร์ ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ความรัก ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว      เครือญาติรวมถึงชุมชนต่างๆ โดยจะประกอบพิธีกรรมตรงกับวันแรม14 ค่ำเดือน10 ของทุกปีเมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือน  10 สายเลือดลูกหลานชาวพื้นเมืองเขมรสุรินทร์ที่ไปทำงานหรือตั้งถิ่นฐานที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลหลายหมื่นหรือ  นับแสนคน ต่างพร้อมใจกันเดินทางกลับมารวมญาติเพื่อทำพิธีแซนโฎนตา อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันทุกหมู่บ้าน

                 คำว่า"แซนโฏนตา"มาจากไหน แซน หมายถึงการเซ่นไหว้ การบวงสรวง โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้  ยาย และตา ปู่และย่าหรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ คำว่า "โฎน " เป็นภาษาเขมรใช้เรียกยายหรือย่า ส่วนตาใช้เรียน  แทนตาและปู่ ว โดยทั่วไปแล้วมักเขียนว่า "โดนตา" ซึ่งถือว่าผิด เนื่องจากเป็นประเพณีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของชาว


เขมร ที่ไม่มีตัวอักษร "ด" อยู่ในพยัญชนะ แต่ใช้ตัว "ฏ"  สืบทอดมาเป็นระยะเวลานาน การเตรียมอุปกรณ์เครื่อง  เซ่นไหว้ การเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน การเซ่น ไหว้ศาลพระภูมิประจำบ้าน การประกอบพิธีกรรมแซนโฎน ตาที่บ้าน การประกอบพิธีกรรมบายเบ็ญ(เครื่องเซ่นไหว้) การประกอบพิธีกรรมที่วัด ประกอบด้วย อาหารคาว หวาน ผลไม้ เครื่องดื่ม ได้แก่ ปลานึ่ง ปลาย่าง หมูย่าง ไก่ย่าง แกงวุ้นเส้น แกงกล้วย ต้มยำไก่ ลาบหมู ไก่นึ่ง ซึ่งต้องเป็นไก่ทั้งตัวเอาเครื่องในออก อาหารหวาน ได้แก่ ข้าวต้มมัดใบมะพร้าว ขนมเทียน ขนมนางเล็ด ขนมโชค(ขนมดอกบัว) ขนมโกรด ข้าวกระยาสารท ผลไม้ ได้แก่ มะพร้าวอ่อน กล้วย ส้ม ละมุด พุทรา องุ่น เป็นต้น เครื่องดื่ม ได้แก่ น้ำเปล่า เหล้าขาว น้ำอัดลม เหล้าสีต่างๆเป็นต้น อุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ เสื่อหวาย ที่นอนแบบพับ หมอน ผ้าขาว ผ้าไหม ผ้าโสร่ง อาภรณ์ต่าง ๆ พาน ธูป เทียน กรวย 5 ช่อ ที่ทำจากใบตองสดม้วนเป็นกรวย แล้วสอดด้วย ธูป และใบกรุยการจัดกรวย5ช่อคือ ขันธ์ 5 หมายถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
                ประเพณีแซนโฎนตามีความเป็นมายาวนานนับพันปี ต้นกำเนิดของแนวความคิดประเพณี โดยชาวเขมรเห็นแนวทางในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้ทุกข์


เวทนาจากบวงกรรมมีความบรรเทาเบาบางลง จึงให้มีการจัดพิธีแซนโฎนตาขึ้น และให้มีการสืบทอดต่อ ๆ กันมา ซึ่งเชื่อว่าถ้าในยุคของตนได้แซนโฎนตาให้แก่ ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ไปแล้ว รุ่นลูกจะต้องแซนโฎนตาให้ตนเหมือนกัน เพื่อให้ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันไปไม่สิ้นสุด เช่น ถ้าญาติหรือลูกหลานประกอบพิธีแซนโฎนตา และทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมีเงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่ทำพิธีแซนโฎนตาก็จะโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพฝืดเคือง ไม่ราบรื่น
                ดังนั้นลูกหลานของชาวไทยเขมรทุกรุ่นจึงต้องประกอบพิธีแซนโฎนตา หรือพิธีกราบไหว้ เซ่นไหว้  บรรพบุรุษ มาตราบจนทุกวันนี้ โดยงานประเพณีแซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ ของพี่น้องชาวเขมรพื้นเมืองสุรินทร์ร่วมไป ถึงชนชาวกูยหรือส่วยอีกด้วย ซึ่งไม่เฉพาะชนชาวเขมรพื้นเมืองที่ จ.สุรินทร์ ที่จัดพิธี "สารทเล็ก " หรือ "เบ็ญตู๊จ" ในวัน



ที่ 14 กันยายน หรือ ตรงกับขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 และ "สารทใหญ่" หรือ "เบ็ญธม" ในวันที่ 29 กันยายน 2551 หรือ ตรงกับ แรม 15 ค่ำเดือน 10 ซึ่งถือเป็น วันแซนโฎนตาที่แท้จริง ส่วนการจูนโฎนตา เป็นการนำอาหารคาว หวาน ของสด ผลไม้ ไปไหว้ แก่ผู้อาวุโสในครอบครัว ซึ่งลูกหลานทุกคนจะเตรียมไปไหว้ขอพรจากผู้ใหญ่ การแซนโฎนตา เป็นการเตรียมสำรับอาหารคาว หวาน ขนม ข้าวต้มมัด กระยาสารท ฯลฯ นำมาจัดในกระเชอหรือกระด้ง หรือเรียกว่า "กระจือโฎนตาซึ่งเป็นการเตรียมไว้สำหรับการเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และจะเตรียมอาหารคาว หวาน ของสด ผลไม้ไปวัดในเช้าของ วันแรม 15 เดือน 10 เพื่อเป็นการทำบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว